Bangana lippus
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Bangana lippus | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยปลาเลียหิน |
สกุล: | ปลาหว้า (Fowler, 1936) |
สปีชีส์: | Bangana lippus |
ชื่อทวินาม | |
Bangana lippus (Fowler, 1936) | |
ชื่อพ้อง | |
|
Bangana lippus เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อสามัญว่า "ปลาเพ้า" ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมกับปลาบางชนิดในสกุลเดียวกัน เช่น B. sinkleri เป็นต้น
ถิ่นที่อยู่
[แก้]ปลาชนิด B. lippus อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำไหลแรงและมีพื้นท้องน้ำเป็นกรวดขนาดใหญ่ เช่น ลำห้วยในพื้นที่สูง แก่งหิน เป็นต้น โดยพบกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำโขงของจีน พม่า และลาว[2] ส่วนในไทย มีรายงานการพบเฉพาะที่แม่น้ำเหืองและแม่น้ำเลยซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง[3]
ลักษณะ
[แก้]เนื่องจากปลาชนิด B. lippus ดำรงชีพด้วยการอาศัยบริเวณพื้นท้องน้ำ จึงมีลักษณะลำตัวเป็นทรงกระบอกที่แบนลงด้านท้อง ครีบอกและครีบท้องกางออกด้านข้าง ช่วยให้ปลาสามารถทรงตัวเพื่อหากินในบริเวณที่น้ำไหลแรงได้ดียิ่งขึ้น ลักษณะรูปร่างดังกล่าวยังมีประโยชน์มากในฤดูผสมพันธุ์ซึ่งปลาจะรวมกันเป็นฝูงในบริเวณที่น้ำไหลถ่ายเทและมีระดับน้ำตื้นจนลำตัวปลาส่วนหลังพ้นน้ำ แต่ปลาก็สามารถใช้ครีบและลำตัวเคลื่อนที่ไปได้อย่างดี[4]
ปลาวัยอ่อนและปลาขนาดเล็กมีลำตัวและครีบเป็นสีเงินอมเขียว เมื่อโตขึ้นสีของลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวมะกอก ด้านในเกล็ดมีจุดสีส้ม ขอบครีบหางและครีบก้นมีสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหลังและครีบก้นในปลาขนาดใหญ่มีปลายโค้งสวยงาม ครีบหางเว้าลึก ริมฝีปากเป็นชั้นหนา (ตัวผู้จะมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นประปรายเหนือจะงอยปาก) กระดูกขากรรไกรคม เหมาะแก่การแทะเล็มตะไคร่น้ำ สาหร่าย หรืออินทรียสารอื่น ๆ ที่เกาะอยู่บนแผ่นหินหรือวัตถุใต้น้ำ (ร่องรอยการครูดตะไคร่น้ำก้อนหินเป็นร่องรอยสำคัญที่ชาวบ้านใช้ในการเสาะหาแหล่งหลบซ่อนของปลาเพื่อวางเครื่องมือประมงดักจับ) ขนาดเมื่อโตเต็มวัยยาวได้ถึงประมาณ 28 เซนติเมตร[5]
การใช้ประโยชน์
[แก้]ปลาชนิด B. lippus เป็นปลาที่มีรสชาติดี เป็นที่นิยมบริโภคของคนในท้องถิ่น แต่สภาพแวดล้อมรวมทั้งลักษณะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำและป่าไม้ของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ส่งผลให้ปลามีจำนวนลดน้อยลง ในขณะเดียวกันก็ยังขาดข้อมูลเชิงวิชาการที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ นิเวศวิทยา ศัตรู และจำนวนประชากรที่แท้จริงของปลาชนิดนี้ หน่วยงานต่าง ๆ จึงยังไม่สามารถบริหารจัดการและเพาะขยายพันธุ์ปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rainboth, W. 2011. Bangana lippa. The IUCN Red List of Threatened Species 2011: e.T187976A8639645. https://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T187976A8639645.en. Downloaded on 31 March 2018.
- ↑ Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2016). "Bangana lippus" in FishBase. November 2016 version.
- ↑ รายงานการประชุมคณะกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ ครั้งที่ 5/2558. เลย, 2558, หน้า 12.
- ↑ รายงานการประชุมคณะกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ ครั้งที่ 5/2558. เลย, 2558, หน้า 13.
- ↑ Zhang, E., P. Yue and J. Chen, 2000. Cyprinidae: Laleoninae. p. 171-272. In P. Yue et al. (eds) Fauna Sinica. Osteichthyes. Cypriniformes III. Science Press. Beijing. 1-661.